ภาวะหมดไฟ

ปรับองค์กรอย่างไร ให้ปลอดภัยจาก Brownout ปรับองค์กรอย่างไร ให้ปลอดภัยจาก Brownout . ปัญหาจากองค์กรที่ทำให้พนักงานเกิด Brownout . - กฎระเบียบที่มากเกินไป มีกฎมากมายและจุกจิกเกินไป ไร้ความยืดหยุ่น ทำให้พนักงานรู้สึกอึดอัดใจและไม่อยากจะทำตามกฎ ยิ่งเป็นกฎเกณฑ์ที่ใช้บังคับเฉพาะคนกลุ่มหนึ่งแต่กลับยืดหยุ่นสำหรับคนบางกลุ่ม ยิ่งทำให้พนักงานรู้สึกถึงความไม่ยุติธรรมและเกิดเป็นความอคติต่อองค์กร . - ปฏิบัติต่อทุกคนเท่ากัน (ไม่มีรางวัล ไม่มีบทลงโทษ ไม่มีอะไรเลย) พนักงานจะทำงานดีหรือแย่ คนทำผิดกฎก็ไม่ถูกลงโทษ ได้รับสิ่งตอบแทนเหมือนกัน ไม่มีการประเมินที่แตกต่าง คนที่ทำงานดีก็จะรู้สึกไม่มีแรงจูงใจ . - เจ้านายเอาแต่ใจตัวเอง ต้องแบกรับความกดดันจากความคาดหวังที่สูงลิ่วของเจ้านาย หรือเจ้านายไม่ยอมรับว่าตัวเองผิดแต่กลับโยนความผิดมาให้พนักงานรับผิดชอบบ่อยเข้า พนักงานก็จะเริ่มรู้สึกว่าเขาไม่อยากที่จะทนอยู่ในสถานการณ์นี้อีกต่อไป . - องค์กรไม่มีเป้าหมาย และจุดประสงค์ที่ชัดเจน เป้าหมายขององค์กรไม่ชัดเจน ทำให้พนักงานไม่รู้จุดประสงค์ในการทำงาน ไม่รู้ว่าองค์กรหรือตัวเองควรจะพัฒนาไปทางไหน และเพื่ออะไร นอกจากทำงานวันต่อวัน . ปรับองค์กรใหม่ให้ไปต่อ - ทบทวน ปรับกฎระเบียบองค์กรให้เหมาะกับคนรุ่นใหม่และคนรุ่นเก่า หรือปรับให้เหมาะกับกระบวนการทำงานในยุคปัจจุบัน ให้พนักงานปฏิบัติงานได้อย่างคล่องตัว ลดความตึงเครียดในการทำงาน . - ตั้งเป้าหมายการทำงานให้ชัดเจน ทั้งเป้าหมายใหญ่ขององค์กรและเป้าหมายย่อยของพนักงานแต่ละคน . - เพิ่มรางวัลที่เป็นแรงจูงใจให้แก่พนักงานที่ทำงานได้ดี มีการเติบโตเป็นขั้นบันไดเพื่อให้พนักงานรู้สึกว่าเขาไม่ได้หยุดนิ่งกับที่ เพื่อให้พนักงานได้ใช้ความสามารถของตัวเองได้อย่างเต็มที่ . - สื่อสารให้พนักงานทุกคนรู้สึกว่าตัวเองมีความสำคัญ คอยสังเกตระดับความเครียดของคนในองค์กร สนับสนุนให้ทำกิจกรรมอื่นๆ เพื่อสุขภาพ และการผ่อนคลายของพนักงาน . ที่มา : posttoday.com

Brownout ไม่ได้หมดไฟ แต่หมดใจในการทำงาน คำแนะนำในการทำงานให้มีความสุข คือการทำในสิ่งที่รัก แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะโชคดีแบบนั้นเสมอไป . เพราะส่วนใหญ่แล้วมักจะได้รับผลกระทบจากการทำงาน ทั้งความเครียดทางใจ และความเหนื่อยล้าทางกาย ทำให้เกิดปรากฎการณ์ทางอาชีพอย่าง #Burnout หรือ #ภาวะหมดไฟ . แต่กับบางคน มีอาการที่ต่างออกไป คือ ไม่ได้หมดไฟ แต่หมดใจในการทำงาน มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า #Brownout . ความแตกต่างระหว่าง Burnout และ Brownout . ความแตกต่างระหว่างภาวะ Burnout และ Brownout คือ Burnout มักจะเกิดจากการเครียดเรื่องงานสะสมเป็นเวลานานจนทำให้รู้สึกหมดไฟกับการทำงาน . แต่ Brownout นั้น คือภาวะที่เกิดจากคนทำงานเบื่อหน่าย เป็นทุกข์ และต้องยอมรับเงื่อนไขหรือระบบบางอย่างขององค์กร จนทำให้พนักงานหลายคนรู้สึกว่าองค์กรนี้ไม่เหมาะกับพวกเขาอีกแล้ว จึงรู้สึกหมดใจที่จะทำงานที่นี่แต่ยังมีไฟในการทำงานอยู่ . และองค์กรจะไม่สามารถรู้ได้เลย เพราะพนักงานจะไม่แสดงอาการและไม่ส่งผลต่องาน ยังคงรับผิดชอบงานที่ถูกมอบหมายได้ดีจนองค์กรไม่ทันสังเกต . จนจบลงด้วยการที่พนักงานแจ้งลาออกโดยที่ไร้สัญญาณเตือนใดๆ แม้องค์กรจะเพิ่มค่าตอบแทนให้เท่าไหร่ หรือเสนออะไรให้ ก็จะไม่สามารถรั้งพนักงานที่หมดใจได้ นอกจากจะแก้ไขและเปลี่ยนสภาพแวดล้อมในองค์กรให้ทันเวลา ก่อนที่จะเสียบุคลากรดีๆ ไป . ผลการสำรวจจาก Corporate Balance Concepts ชี้ว่าพนักงานระดับสูงจะตัดสินใจลาออกจากอาการ Brownout มากถึง 40% ในขณะที่อาการ Burnout เป็นสาเหตุให้ลาออกเพียงแค่ 5% เท่านั้น . สัญญาณเตือนภัยที่บอกว่าเราเข้าใกล้อาการ Brownout . – รู้สึกเหมือนถูกบังคับและกดดันตลอดเวลา (จนบางครั้งถึงขั้นมีอาการหวาดกลัว) . – เกิดอาการเจ็บป่วยทางกาย เนื่องจากขาดการพักผ่อนหรือการดูแลตัวเอง . – บกพร่องทางความสัมพันธ์กับคนใกล้ชิด ไม่ว่าจะครอบครัว เพื่อน หรือแฟน . – ขาดความสนใจในเรื่องอื่นๆ นอกจากงาน รวมถึงความสามารถนอกเวลาการทำงานลดลง

‘เบิร์นเอาท์’ ซินโดรม ภาวะหมดไฟ เมื่องานเบิร์นชีวิตจนหมดไฟ จัดการอย่างไรดี?  “พรุ่งนี้วันจันทร์แล้วหรอ?” “เฮ้อ ต้องทำงานอีกแล้ว” อาการเบื่องาน เนือยๆ ไม่มีสมาธิ ไม่อยากทำอะไรเลย ทั้งความกระตือรือร้น ทั้ง Passion ที่เคยมีหายต๋อมไปกับวังวนความเหนื่อยล้า อาการหมดไฟ หรือ Burnout แบบนี้ เพิ่งถูกจัดเข้าในบัญชีจำแนกโรคระหว่างประเทศฉบับที่ 11 (International Classification of Diseases (ICD)) โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) หรือถูกยอมรับแล้วว่าเป็น ‘ภาวะ’ อย่างหนึ่งที่ควรได้รับการรักษา องค์การอนามัยโลกระบุว่าภาวะนี้เกิดจากความเครียดความกดดันจากสภาพแวดล้อมการทำงาน ที่สะสมมาระยะเวลาหนึ่งและไม่ได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกต้อง จนเกิดอาการหมดไฟโดยมีอาการหลักๆ 3 ข้อ คือ 1) รู้สึกเหนื่อยล้า หมดแรง 2) รู้สึกกับงานในทางลบ หรือไม่รู้สึกยินดียินร้ายไปเลย 3) ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง หมดไฟ …จัดการอย่างไรดี คำแนะนำในการจัดการกับภาวะหมดไฟทำได้ 2 ด้าน คือ 1. จัดการกับตัวเอง 2. จัดการกับสภาพแวดล้อมในการทำงาน 1.จัดการกับตัวเอง – พักผ่อนให้เพียงพอนอนอย่างน้อยวันละ 8 ชั่วโมง การชาร์จแบตให้ร่างกายอย่างเต็มที่คือกุญแจสำคัญ​ – ผ่อนคลายอารมณ์ด้วยกิจกรรมอื่นๆ เพราะความเครียดเป็นเรื่องธรรมชาติ ในเมื่อคุณเป็นคนที่ใส่ใจและขยันทำงานคุณก็จะทำได้ดีในการใส่ใจและรักตัวเองเช่นกัน ดังนั้นควรให้รางวัลตัวเองบ้าง ไม่ว่าจะอยากนั่งเฉยๆ เดินไปเรื่อยๆ นอนอุตุดูหนัง ฟังเพลง หรือชอปปิ้ง คุณก็สามารถทำได้ ถือเป็นรางวัลให้กับตัวเองที่ตั้งใจทำงานมาตลอด – พูดคุย ขอคำปรึกษา คุณสามารถพูดหรือบอกกับคนอื่นๆได้ ว่าคุณรู้สึกหมดแรง หรือเบื่อ หรือถ้าหากคุณรู้สึกว่าอาการของคุณรุนแรงมากกว่าปกติ ต้องการความช่วยเหลือ หรือปรึกษาผู้เชี่ยวชาญก็สามารถทำได้เช่นกัน 2.จัดการกับสภาพแวดล้อมในการทำงาน คำแนะนำจาก WHO คือการปรับสภาพแวดล้อมในการทำงาน ให้มีความรู้สึกในทางบวกมากขึ้น ซึ่งด้านนี้ต้องอาศัยวิสัยทัศน์และนโยบายของผู้บริหารและ HR เช่น – สร้างเป้าหมายเส้นทางอาชีพให้พนักงาน เพื่อให้มีทิศทางในการทำงานชัดเจนขึ้น ยิ่งมีเป้าหมาย ก็ยิ่งมีกำลังใจ – สร้างความมีส่วนร่วมในการตัดสินใจของพนักงานเพื่อให้สถานที่ทำงานทำให้ผู้ทำงานรู้สึกสบายใจมากขึ้น เช่นร่วมโหวตสถานที่ท่องเที่ยวประจำปีของบริษัท หรือโหวตเมนูอาหารใหม่ในโรงอาหารที่อยากกิน – นโยบายดูแลสุขภาพกายและใจของพนักงานเพื่อช่วยเหลือและดูแลอย่างเหมาะสม ที่มา: – องค์การอนามัยโลก (WHO)  

เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่าง “อาการเบิร์นเอาท์” และ “ความขี้เกียจ” เบิร์นเอาท์ VS ขี้เกียจ ที่เป็นอยู่เพราะอะไรกันแน่นะ? พอถึงวันจันทร์ทีไรน้ำตาจะไหลทุกทีเลย อยากอยู่นิ่ง ๆ ไม่อยากทำอะไร ไม่อยากทำงาน หมดใจ หมดเรี่ยวแรง อาการแบบนี้อาจบอกถึง “ภาวะเบิร์นเอาท์ ซินโดรม” ก็เป็นได้ แต่รู้มั้ยล่ะว่า…มันมีเส้นบางๆ ก้นอยู่ระหว่างเบิร์นเอาท์กับความขี้เกียจอยู่นะ ลองมาเช็กกันดูครับว่าที่เราเป็นอยู่มันคืออะไรกันแน่ เบิร์นเอาท์ ซินโดรม (Burnout Syndrome)  เกิดจากการทำงานหนักแล้วไม่ได้พักผ่อนเป็นเวลานาน ความเครียดสะสมทำให้พักผ่อนได้ไม่เพียงพอึ่งส่งผลต่อจิตใจที่อาจนำไปสู่ภาวะซึมเศร้าได้ อาการ  ไม่อยากตื่นมาทำงาน เบื่อหน่ายงาน ไม่อยากคุยกับใคร ไม่มีความสุขในการทำงาน ขาดสมาธิ และความคิดสร้างสรรค์ในการทำงาน วิธีแก้ไข  โดยธรรมชาติแล้วมนุษย์แต่ละคนจะมีวิธีการพาตัวเองกลับมาที่ไม่เหมือนกัน ได้แก่  นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ  เปลี่ยนบรรยากาศในการทำงาน หาที่เงียบสงบแล้วนั่งโง่ ๆ ดูก้อนเมฆลอยผ่านไปมา ไม่ต้องเล่นมือถือรับรู้เรื่องราวของคนอื่นสักพัก ไม่ต้องมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งใด ๆ  จดบันทึก ออกไปพบเจอผู้คน เพราะมันทำให้คุณได้หัวเราะ เบี่ยงเบนความสนใจไปจากสิ่งที่ชวนให้หมดไฟ  ทำกิจกรรมเพื่อเติมเต็มความหมายของชีวิต เช่น การออกไปเป็นอาสาสมัคร ทำอะไรเพื่อคนอื่นบ้าง ความขี้เกียจ  เกิดจากนิสัยแม้ไม่ได้ทำอะไรก็อยากจะพักผ่อน อาการ อ่อนเพลีย ไม่อยากทำอะไรเลย อยากอยู่เฉยๆ วิธีแก้ไข ตั้งเป้าหมายเล็กๆ แล้วลงมือทำ ขี้เกียจไปให้สุด จนขี้เกียจจะขี้เกียจ ไม่ว่าวันนี้เราอยากจะนอนต่อเพียงใด อยากจะอยู่เฉยๆ เพียงใด เทคนิคง่ายๆ ของลุงที่ใช้ได้ผลเสมอคือให้พึงระลึกไว้ว่าถ้าเราไม่ลุกขึ้นเดือนนี้เราจะกินอะไร พลังของเงินทองและความเป็นอยู่ของปากท้องจะเป็นพลังฮึดให้เราสู้ได้

หมดใจหรือแค่หมดไฟ ท้อไม่ไหวจนอยากจะเท! เท! เท! ไม่ว่าวัยเรียนหรือวัยทำงานก็ต่างเคยเกิดอาการเช่นนี้แทบทั้งสิ้น เคยสงสัยมั้ยว่านี่ใช่ Burnout Syndrome หรือเปล่า? ปีหลังๆ มานี้เราเริ่มคุ้นหูคุ้นตากับคำว่า Burnout Syndrome กันมากขึ้น ซึ่งมันเกิดมาจากความเหนื่อยล้าทั้งทางร่างกายและจิตใจ เมื่อเราต้องเจอกับงานที่ถาโถมและความเครียดที่สะสมมาเป็นเวลานาน แต่คนที่มีภาวะ Burnout ไม่ได้หมายความว่าจะต้องป่วยเป็นโรคซึมเศร้าเสมอไป เพียงแต่จะมีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นมากกว่าคนทั่วไป ซึ่งต้องรีบแก้ไขโดยด่วน ก่อนอื่นมาสำรวจตัวเองว่ามีอาการตามด้านล่างนี้หรือไม่ มีทัศนคติที่ไม่ดีต่องานที่ทำอยู่ ไม่มีความสุขในการทำงาน ท้อแท้ เบื่องาน ขาดแรงจูงใจในการทำงาน รู้สึกเหนื่อย หมดแรง อ่อนเพลีย แต่นอนไม่หลับ มีอาการปวดหัว มวนท้อง คลื่นไส้ ในระหว่างทำงาน ความสามารถในการจำและสมาธิลดลง มีความขัดแย้งกับเพื่อนที่ทำงานด้วยกันมากขึ้น ไม่อยากให้ความร่วมมือใดๆ แยกตัวไม่สุงสิงกับผู้อื่น ทั้งเพื่อนและคนในครอบครัว ผลัดวันประกันพรุ่ง ไม่กระตือรือร้น ใครที่มีอาการทุกข้อตรงเป๊ะหรือมากกว่า 80% ถือเป็นสัญญาณอันตรายที่เข้าข่ายภาวะ Burnout วันนี้ CHULAguide เลยมาแชร์ทริคเบื้องต้นในการปลุกไฟที่มอดไหม้ให้กลับมาสดใสอีกครั้ง ปรับทัศนคติในการทำงาน อย่างแรกเลยคือต้องลดการกดดันตัวเอง คิดไว้เสมอว่าไม่มีใครเพอร์เฟ็กต์ไปเสียทุกอย่าง งานที่ทำก็เช่นกัน เลิกยึดถือความสมบูรณ์แบบมากจนเกินไป ปล่อยวางสิ่งที่เกินควบคุม แต่พยายามทำให้เต็มที่ตามความสามารถที่มี เมื่อเจออุปสรรคก็ค่อยๆ แก้ไปทีละเสต็ป และขอให้เชื่อว่าทุกปัญหาย่อมมีทางออกเสมอ ขอความช่วยเหลือ เมื่อยามจำเป็น สืบเนื่องจากด้านบน บางคนยึดถือความสมบูรณ์ทุกระเบียดนิ้ว ชอบแบกภาระงานไว้คนเดียว ไม่เชื่อใจคนอื่น กลัวว่าจะทำออกมาไม่สำเร็จหรือไม่ดีเท่าตัวเอง ลองเปิดใจและปรับตัวในการทำงานกลุ่มหรือกับเพื่อนร่วมงานให้มากขึ้น เพิ่มความยืดหยุ่นในบางโอกาส ขอความช่วยเหลือคนรอบข้างบ้าง และในขณะเดียวกันก็ต้องรู้จักปฏิเสธให้เป็น เมื่อโดนโยนงานที่ไม่ใช่หน้าที่รับผิดชอบ ไม่เช่นนั้นจะยิ่งสุมไฟเครียดให้เราเป็นเท่าตัว ผ่อนคลาย ทลายเครียด ความเครียดเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะเบิร์นเอาท์ ดังนั้นพอเราเริ่มรู้สึกว่าเครียดเมื่อไหร่ ต้องหาวิธีผ่อนคลายอย่าปล่อยให้ตัวเองจมดิ่งกับความเครียดจนสะสมไม่หาย หาเวลาว่างไปทำกิจกรรมในไลฟ์สไตล์ที่ชอบ ไม่ว่าจะเป็น ดูหนัง ฟังเพลง กินของอร่อย ออกกำลังกาย ท่องเที่ยว เล่นเกม หรืออะไรก็ได้ที่ทำแล้วมีความสุข แม้เป็นสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ก็ตาม เมื่อชาร์จพลังเต็มที่แล้วค่อยกลับมาลุยงานต่อก็ยังไม่สาย นอนให้เพียงพอ ดีต่อหัวใจ ใครว่าการนอนไม่สำคัญ อย่ามัวแต่โหมงานหรือทำการบ้านหามรุ่งหามค่ำ การนอนอย่างเพียงพอนั้นนอกจากจะเป็นการพักผ่อนร่างกายและจิตใจ ยังช่วยให้สมองพัฒนาส่วนความจำอย่างเต็มที่ ทำให้รู้สึกกระปรี้กระเปร่า ช่วยให้เรามีความสุข แถมสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานอีกด้วย จัดระเบียบชีวิต จิตแจ่มใส ท่ามกลางความยุ่งเหยิงของชีวิต ควรรีบคิดจัดลำดับความสำคัญของงานและเวลาในการทำให้ดี อันไหนที่เร่งด่วนควรโฟกัสก่อน อย่างงานที่ได้คะแนนเยอะหรือเมกะโปรเจกต์ที่ต้องพรีเซนต์ในวันสองวันนี้ก็ควรเคลียร์ให้เสร็จทันที แล้วค่อยหันไปทำงานที่สำคัญรองลงมา จัดเวลาในแต่ละวันให้เหมาะสม แล้วจะไม่ทุกข์ระทมกับอาการเวิร์คโหลดอีกเลย แต่ถ้าหากอาการของใครไม่สามารถรักษาด้วยตนเองได้ แนะนำให้เข้าไปปรึกษาและรับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญจะเป็นการแก้ปัญหาได้ดีที่สุด อ้างอิงจาก dek-d.com

“Burn out” ภาวะหมดไฟ ไม่ใช่โรค แต่อาจนำไปสู่โรคต่างๆ ได้ เช่น ซึมเศร้า วิตกกังวล กรมการแพทย์ โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี เผยถึงภาวะหมดไฟ หรือ Burn out ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ทางอาชีพ ไม่ใช่โรค เกิดจากความเครียดเรื้อรังจากการทำงาน ซึ่งไม่สามารถจัดการได้ หากมีอาการรู้สึกหมดพลัง เหนื่อยล้าเบื่อหน่ายตลอดเวลา หมดความสนใจในงานที่ทำ ควรหาเวลาพักผ่อน แบ่งเวลาระหว่างเรื่องงานกับบ้านให้ชัดเจน หรือปรึกษาแพทย์ นพ.มานัส โพธาภรณ์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า Burn out หรือภาวะหมดไฟ เป็นปรากฏการณ์ทางอาชีพ (occupational phenomenon) ไม่ใช่เป็นโรค (medical condition) และเกิดจากความเครียดเรื้อรังจากการทำงาน ซึ่งได้จัดอยู่ในบัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรค และปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง ฉบับที่ 11 โดยมีรหัสกำหนดในหมวด Z คือ “ปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาวะ” เพราะเล็งเห็นว่าประเด็นนี้มีความสำคัญ คุกคามสุขภาวะ และอาจจะนำไปสู่โรคต่าง ๆ ได้ เช่น ภาวะโรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล หรือแม้กระทั่งปวดหัวชนิดเทนชั่น หรือโรคนอนไม่หลับ เป็นต้น นพ.สมบูรณ์ ทศบวร ผู้อำนวยการโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี กล่าวเพิ่มเติมว่า กลุ่มศูนย์การแพทย์เฉพาะทางด้านอาชีวเวชศาสตร์และสิ่งแวดล้อม โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี ตระหนักถึงภาวะ Burn out หรือกลุ่มอาการ (Syndrome) ที่เกิดจากความเครียดเรื้อรังในสถานที่ทำงาน ซึ่งยังไม่ถูกจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ โดยแบ่งลักษณะอาการใน 3 กลุ่ม คือ 1. รู้สึกหมดพลังหรือเหนื่อยล้า 2. รู้สึกว่าจิตใจห่างเหินจากงานและมีทัศนคติด้านลบต่องาน 3. ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง และอาจส่งผลต่อบุคลากรในโรงพยาบาล จึงแนะนำถึงวิธีการป้องกันการนำมาสู่ภาวะดังกล่าว คือ ต้องแบ่งขอบเขตระหว่างงานและบ้านให้ชัดเจน หาเวลาพักผ่อน ปิดสวิทซ์งานเมื่ออยู่บ้าน อย่าเป็นทุกข์อยู่คนเดียว ต้องบอกเพื่อนร่วมงานหรือเจ้านาย

Powered by MakeWebEasy.com
This website uses cookies for best user experience, to find out more you can go to our Privacy Policy  and  Cookies Policy