Last updated: 17 ม.ค. 2567 | 794 จำนวนผู้เข้าชม |
Brownout ไม่ได้หมดไฟ แต่หมดใจในการทำงาน
คำแนะนำในการทำงานให้มีความสุข คือการทำในสิ่งที่รัก
แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะโชคดีแบบนั้นเสมอไป
.
เพราะส่วนใหญ่แล้วมักจะได้รับผลกระทบจากการทำงาน
ทั้งความเครียดทางใจ และความเหนื่อยล้าทางกาย
ทำให้เกิดปรากฎการณ์ทางอาชีพอย่าง #Burnout หรือ #ภาวะหมดไฟ
.
แต่กับบางคน มีอาการที่ต่างออกไป คือ ไม่ได้หมดไฟ แต่หมดใจในการทำงาน มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า #Brownout
.
ความแตกต่างระหว่าง Burnout และ Brownout
.
ความแตกต่างระหว่างภาวะ Burnout และ Brownout คือ
Burnout มักจะเกิดจากการเครียดเรื่องงานสะสมเป็นเวลานานจนทำให้รู้สึกหมดไฟกับการทำงาน
.
แต่ Brownout นั้น คือภาวะที่เกิดจากคนทำงานเบื่อหน่าย เป็นทุกข์ และต้องยอมรับเงื่อนไขหรือระบบบางอย่างขององค์กร จนทำให้พนักงานหลายคนรู้สึกว่าองค์กรนี้ไม่เหมาะกับพวกเขาอีกแล้ว จึงรู้สึกหมดใจที่จะทำงานที่นี่แต่ยังมีไฟในการทำงานอยู่
.
และองค์กรจะไม่สามารถรู้ได้เลย เพราะพนักงานจะไม่แสดงอาการและไม่ส่งผลต่องาน ยังคงรับผิดชอบงานที่ถูกมอบหมายได้ดีจนองค์กรไม่ทันสังเกต
.
จนจบลงด้วยการที่พนักงานแจ้งลาออกโดยที่ไร้สัญญาณเตือนใดๆ แม้องค์กรจะเพิ่มค่าตอบแทนให้เท่าไหร่ หรือเสนออะไรให้ ก็จะไม่สามารถรั้งพนักงานที่หมดใจได้ นอกจากจะแก้ไขและเปลี่ยนสภาพแวดล้อมในองค์กรให้ทันเวลา ก่อนที่จะเสียบุคลากรดีๆ ไป
.
ผลการสำรวจจาก Corporate Balance Concepts ชี้ว่าพนักงานระดับสูงจะตัดสินใจลาออกจากอาการ Brownout มากถึง 40% ในขณะที่อาการ Burnout เป็นสาเหตุให้ลาออกเพียงแค่ 5% เท่านั้น
.
สัญญาณเตือนภัยที่บอกว่าเราเข้าใกล้อาการ Brownout
.
– รู้สึกเหมือนถูกบังคับและกดดันตลอดเวลา
(จนบางครั้งถึงขั้นมีอาการหวาดกลัว)
.
– เกิดอาการเจ็บป่วยทางกาย
เนื่องจากขาดการพักผ่อนหรือการดูแลตัวเอง
.
– บกพร่องทางความสัมพันธ์กับคนใกล้ชิด
ไม่ว่าจะครอบครัว เพื่อน หรือแฟน
.
– ขาดความสนใจในเรื่องอื่นๆ นอกจากงาน
รวมถึงความสามารถนอกเวลาการทำงานลดลง
17 ม.ค. 2567
17 ม.ค. 2567
17 ม.ค. 2567